ความรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแล หรือ กฎหมาย
หรือตามที่สำนักงาน คปภ. กำหนด (เช่น กฎกติกา, ระเบียบ เป็นต้น)

สำนักงาน คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลทำหน้าที่ ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนด โดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีภารกิจ ดังนี้

กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัย ให้มีความเข้มแข็งมั่นคง
ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัย มีบทบาทสร้างเสริมความแข็งแกร่ง ให้ระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
คุ้มครองสิทธิประโยชน์ ของประชาชนด้านการประกันภัย

ธรรมาภิบาล/จริยธรรมของสำนักงาน คปภ.

สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนา ธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์จาก การประกันภัยอย่างครบถ้วน

ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance) เพื่อนำองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืน ทั้งยังเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมถึงจะต้องแสดงให้เห็นถึง การมีระบบการบริหารจัดการและการใช้อำนาจหน้าที่ด้วยความโปร่งใส น่าเชื่อถือโดยได้อ้างอิงมาจากหลักธรรมาภิบาลตาม มาตรฐานสากลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) และมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (Insurance Core Principles : ICPs) ซึ่งกำหนด โดยสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS)

ประกอบกับพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กำหนดให้หน่วยงาน ของรัฐต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นหลัก ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับสภาพคุณงามความดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องยึดถือสำหรับการปฏิบัติงานการตัดสินความถูกผิด การปฏิบัติที่ควรกระทำ หรือไม่ควรกระทำ ตลอดจนการดำรงตนใน การกระทำความดีและ ละเว้นความชั่ว ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ซึ่งประกอบด้วย

  1. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ซื่อสัตย์สุจริตมีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
  3. กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
  4. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
  5. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
  6. ดำรงตนเป ็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ

ความสำคัญของกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย

1

ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองจากการเอาเปรียบหรือปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากบริษัทประกันเช่น การหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน

2

การกำหนดมาตรฐานการให้บริการ กฎหมายกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการเสนอขายประกันภัยที่โปร่งใสและเป็นธรรม รวมถึงการให้ข้อมูล ที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล

3

ส่งเสริมความเชื่อมั่นในธุรกิจประกันภัย การมีกรอบกฎหมายที่เข้มงวดและการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อประกันภัย

4

การคุ้มครองในกรณีเกิดข้อพิพาท ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เอาประกัน และบริษัทประกันภัยได้อย่างเป็นธรรม เช่น ผ่านการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ.

5

สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจประกันภัย ช่วยให้อุตสาหกรรมประกันภัยเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ